การป้องกันปลวก ระบบท่อ
- จะสามารถอัดน้ำยาเคมีเข้าไปให้พื้นอาคารหัวอัดที่เตรียมไว้โดยรอบอาคาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ระบบเจาะพื้น เพื่ออัด น้ำยาลงดินทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในอนาคต
- ไม่ทำให้พื้นอาคารซึ่งใช้วัสดุอย่างดีเกิดความเสียหาย และมีความชื้นเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการเจาะพื้น
- ไม่ต้องนำน้ำยาเคมีจำนวนมาก ผ่านเข้าไปในตัวอาคาร เพื่อความปลอดภัยจากน้ำยาเคมี ต่อผู้อาศัยมากที่สุด
การป้องกันปลวก ระบบท่อ มีวิธีปฏิบัติตามขั้นตอนระหว่างก่อสร้าง ดังนี้
- เจ้าหน้าที่จะเริ่มดำเนินงาน หลังจากที่ทางฝ่ายก่อสร้างได้ทำการเทคานคอดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่จะทำการ วางท่อ (CHEMICAL PIPE) ซึ่งสามารถทนแรงอัดได้สูง อีกทั้งวัสดุยังคงทนตลอดอายุบ้าน ขนาดติดกับแนวคานน้ำยาเคมีไว้รอบอาคารเป็นช่วง ๆ สำหรับอัดน้ำยาเคมีเข้าไปใต้พื้นอาคารได้ตลอดอายุบ้าน
- หลังจากวางท่อน้ำยาเคมีเสร็จแล้ว ฝ่ายก่อสร้างก็สามารถปรับพื้นเทคอนกรีตได้เลยหลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่บริษัทฯ จะทำการอัดน้ำยาเคมีโดยใช้น้ำยาเคมีที่ผสมเสร็จแล้วในปริมาณ 100 ลิตรต่อทุก ๆ 33 ตารางเมตร
- อัดน้ำยาภายในตัวบ้านทุกตารางเมตร โดยเจ้าหน้าที่จะใช้หัวอัดน้ำยา (High Pressure Injector) ปักลงไปในดินประมาณ 50-100 เซนติเมตร และอัดน้ำยาตารางเมตรละ 3 ลิตร หลังจากอัดน้ำยาลงดินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะฉีดพรมหรือปูหน้าดินให้ทั่วบริเวณโดยตารางเมตรละ 2 ลิตร
- อัดน้ำยาภายนอกอาคาร หลังจากอัดน้ำยาภายในตัวอาคารเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะอัดน้ำยาตารางเมตรละ 3 ลิตร โดยอัดน้ำยาห่างจากตัวบ้าน 1 เมตร หลังจากนั้นจะสเปรย์เคลือบผิวหน้าดินตารางเมตรละ 2 ลิตร โดยห่างจากตัวบ้าน 1 เมตร
- การตรวจเช็คปัญหาปลวก หลังจากเจ้าหน้าที่อัดน้ำยาภายในตัวบ้านและรอบนอกเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจเช็คทุก ๆ 6 เดือน จนครบสัญญาการรับประกัน ในระหว่างการรับประกัน หากสงสัยว่า บ้านของท่านอาจมีปัญหาปลวกรบกวน โปรดแจ้งให้บริษัทฯ ทราบทางบริษัทฯ จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจและแก้ไขภายใน 24 ชั่วโมง การรับประกันบริษัท ฯ ยินดีประกันให้ 3 ปี
สารเคมีที่บริษัทฯ ใช้ในการป้องกันปลวก ระบบท่อ คือ 1. กลุ่มสารเคมี ไบเฟนทริน [Bifenthrin] 2. กลุ่มสารเคมี ฟิโพรนิล [Fipronil]
ขั้นตอนการปฏิบัติงานกำจัดปลวก ระบบท่อ
ขั้นตอนช่วงก่อสร้าง (1 – 6)
1
1) การวางท่อ หลังจากรื้อแบบข้างคานคอดินชั้นล่างเรียบร้อยแล้ว (เก็บกองไม้แบบออกให้เรียบร้อย)
2
2) การทดสอบท่อ เพื่อตรวจสอบหัวสปริงเกอร์ออกทุกหัว หรือ หากหลุด หรือไม่เรียบร้อยจะได้แก้ไขทันที
3
3) การอัดน้ำยาลงดินทุกตารางเมตรโดยอัดน้ำยา
ตาราเมตรละ 3 ลิตร
4
4) การสเปรย์ยาเคลือบผิวดินทุกตารางเมตร โดยทำการสเปรย์ยาตารางเมตรละ 2 ลิตร
5
5) *เคมีไบทริน 50 ทีซี อัตราส่วนผสมเคมี 1 ลิตร ต่อ น้ำ 200 ลิตร
*เคมีทอปโป อัตราส่วนผสม เคมี 1 ลิตร ต่อ น้ำ 100 ลิตร
*เคมีเอฟ-โปรนิล อัตราส่วนผสม เคมี 1 ลิตร ต่อ น้ำ 200 ลิตร
6
6) ช่วงก่อสร้างเดือนที่ 4-8 เจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บหัวอัดน้ำยา เช็คหัวอัดน้ำยาเข้าท่อ ติดบล็อกลอยกันน้ำขนาด 3×5 นิ้ว
ขั้นตอนหลังการก่อสร้างเสร็จ (7 – 10)
7
7) ทางบริษัทฯ เข้าดำเนินการอัดน้ำยาเข้าท่อ (บ้านก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
8
8) อัดน้ำยาลงดินรอบตัวบ้านทุกระยะ 1 เมตร โดยรอบตัวบ้าน
9
9) สเปรย์ยาสนาม รอบนอกตัวบ้านโดยรอบ
10
10) เจ้าหน้าที่เข้าตรวจเช็คภายในบ้านทุกชั้น (เข้าทำบริการตรวจเช็คตามเงื่อนไขจนครบระยะสัญญา)